Regulations

ธรรมนูญสภาธุรกิจตลาดทุนไทย พ.ศ. 2547
(ฉบับที่ 10) ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤษภาคม 2565

สภาธุรกิจตลาดทุนไทยนี้จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาตลาดทุนไทย

ข้อ  1             ธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2547

ข้อ  2             ในธรรมนูญนี้

“ตลาดทุนไทย” หมายความว่า การดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์ ตลาด

หลักทรัพย์ และการดำเนินกิจกรรมอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือตลาดหลักทรัพย์ 3

“สภา” – 3

“สมาชิก” 3 หมายความว่า สมาชิกสภาธุรกิจตลาดทุนไทย

“คณะกรรมการ” 3 หมายความว่า คณะกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย

“กรรมการ” 3 หมายความว่า กรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย

                                              “ประธานกรรมการ” 3 หมายความว่า ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย

“รองประธานกรรมการ” 3 หมายความว่า รองประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย

“คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3

                                              “ที่ปรึกษา” หมายความว่า ที่ปรึกษาสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3

“คณะทำงาน” หมายความว่า คณะทำงานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3

“เลขานุการ” 3 หมายความว่า เลขานุการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 1

 

หมวดที่ 1

การจัดตั้งสภาธุรกิจตลาดทุนไทย3

 

ข้อ  3             “สภาธุรกิจตลาดทุนไทย” 3 มีชื่อย่อว่า “สธท.” เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า  “เฟดเดอเรชั่นออฟไทยแคปปิตอลมาร์เก็ตออร์แกนไนเซชั่น”  เขียนชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า  “Federation of Thai Capital Market Organizations” มีชื่อย่อว่า “FETCO” 3

สภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3 นี้ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยมีสำนักงานของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ตั้งอยู่ ณ อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 3,6

               

ข้อ  4 3           สภาธุรกิจตลาดทุนไทยนี้จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  • ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาตลาดทุนไทยให้เติบโตต่อเนื่องอย่างยั่งยืน มีเสถียรภาพ และมีประสิทธิภาพ
  • ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรและผู้ที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนไทย มีการสร้างมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีระบบการบริหารจัดการที่โปร่งใส ยุติธรรม รวมทั้งมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม
  • ประสานความร่วมมือกันระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนไทย รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทดสอบ อบรม และเผยแพร่วิชาการเกี่ยวกับตลาดทุนไทยให้แก่สมาชิก ผู้ปฏิบัติงานให้กับสมาชิก และบุคคลทั่วไป
  • สนับสนุนเกี่ยวกับการรับรองคุณภาพหรือมาตรฐานเกี่ยวกับตลาดทุนไทย รวมทั้งการรับรองความรู้และความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับตลาดทุนไทย
  • ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับตลาดทุนไทยต่อสมาชิก และบุคคลทั่วไปทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ
  • เสนอความเห็นหรือให้คำปรึกษาต่อหน่วยงานรัฐเพื่อพัฒนาตลาดทุนไทย
  • คุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของสมาชิกเกี่ยวกับตลาดทุนไทย
  • ส่งเสริมให้มีการช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างสมาชิกด้วยกัน
  • ศึกษาและหาทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาตลาดทุนไทย
  • ปฏิบัติกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ต่อตลาดทุนไทยหรือเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของธรรมนูญนี้

 

ข้อ  5             ตราของสภาธุรกิจตลาดทุนไทยเป็นเครื่องหมาย  3,6

fetco-1

fetco-2

fetco-3

 

หมวดที่ 2

สมาชิก 3

 

ข้อ  6 3           สมาชิกมี 2 ประเภท คือ

6.1  สมาชิกก่อตั้ง ได้แก่ นิติบุคคลที่ร่วมก่อตั้งสภาธุรกิจตลาดทุนไทยมาตั้งแต่เริ่มต้น ได้แก่

(1) สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย
(2) สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย
(3) สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
(4) สมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน
(5) สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
(6) สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
(7) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

                      6.2  สมาชิกสามัญ ได้แก่ สมาคมหรือนิติบุคคลอื่นใดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับตลาดทุนไทย ซึ่งคณะกรรมการได้มีมติเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรให้เป็นสมาชิกด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด

สมาคมหรือนิติบุคคลอื่นใดที่มีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่งซึ่งมีความประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิก ให้ยื่นใบสมัครต่อสภาธุรกิจตลาดทุนไทยตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สภาธุรกิจตลาดทุนไทยกำหนด

 

ข้อ  7            ยกเลิก 3

 

ข้อ  8            ให้สมาชิก 3 มีสิทธิดังต่อไปนี้

  • แต่งตั้งผู้แทนเป็นกรรมการ 3
  • เข้าร่วมประชุม อภิปราย ซักถามแสดงความคิดเห็น และใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมคณะกรรมการ 3 โดยผ่านผู้แทนที่เป็นกรรมการ 3
  • เสนอความคิดเห็นหรือให้คำแนะนำต่อคณะกรรมการ 3 ในเรื่องอันอยู่ในวัตถุประสงค์ของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3
  • ใช้ตราของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3 ตามข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศที่สภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3 กำหนด
  • เสนอชื่อบุคคลใดเพื่อให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการ 3 ผู้แทน 3 ที่ปรึกษา 3 คณะทำงาน หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เพื่อดำเนินกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3 ตามที่คณะกรรมการ 3 จะแต่งตั้ง
  • ดำเนินกิจกรรมใดๆ ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการ 3เห็นชอบ

 

ข้อ   9                  สิทธิการเป็นสมาชิก 3 ตามธรรมนูญนี้เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่อาจโอนให้แก่กันได้

 

ข้อ  10          สมาชิก 3 มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • ร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน และให้ความร่วมมือ สำหรับการดำเนินกิจกรรมในการพัฒนาตลาดทุนไทยตามวัตถุประสงค์ นโยบาย แผนงาน และแนวทางการดำเนินงานของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3
  • ร่วมกันดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสมาชิกและตลาดทุนไทย 3
  • รักษาชื่อเสียงและเกียรติยศของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3 และไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3 ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
  • ปฏิบัติตามธรรมนูญ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง  และจรรยาบรรณที่สภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3 นี้กำหนด
  • รักษาความสามัคคีระหว่างสมาชิก 3 ด้วยกัน
  • ไม่กระทำการใดๆ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อการดำเนินงานของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3

                        

ข้อ  11 3        สมาชิกสามัญอาจพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาธุรกิจตลาดทุนไทยได้ ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้

  • ลาออก
  • ขาดคุณสมบัติตามข้อ 6.2

(3)   ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือล้มละลาย

(4)   คณะกรรมการมีมติเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรให้พ้นจากการเป็นสมาชิกด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด

 

หมวดที่ 3

คณะกรรมการ 3

 

ข้อ  12 3         เพื่อดำเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง มีจำนวนไม่เกิน 9 คน โดยให้ผู้แทนของสมาชิกก่อตั้งที่ดำรงตำแหน่งนายกสมาคม ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ หรือบุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งเช่นว่านั้นที่เรียกชื่ออย่างอื่นเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และให้ผู้แทนของสมาชิกสามัญที่ดำรงตำแหน่งกรรมการสมาคมหรือบุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งเช่นว่านั้นที่เรียกชื่ออย่างอื่นโดยได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกสามัญจำนวนไม่เกิน 2 คน และต้องไม่เป็นบุคคลที่มาจากสมาชิกสามัญรายเดียวกัน
ให้เป็นกรรมการโดยการเลือกตั้ง

ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการโดยตำแหน่งเป็นประธานกรรมการ 1 คน และรองประธานกรรมการ
ไม่เกิน9 2 คน4 และให้ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์เป็นเลขานุการโดยตำแหน่ง

ในกรณีที่กรรมการโดยตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ และได้มอบหมายให้ผู้แทนของสมาชิกก่อตั้งปฏิบัติหน้าที่แทนกรรมการโดยตำแหน่งรายนั้น ตามข้อ 26 คณะกรรมการอาจแต่งตั้งผู้แทนของสมาชิกก่อตั้งรายดังกล่าวเป็นประธานกรรมการก็ได้ โดยผู้แทนของสมาชิกก่อตั้งรายดังกล่าวต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์อันจำเป็นต่อการดำเนินงานของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ทั้งนี้ ในการแต่งตั้งผู้แทนของสมาชิกก่อตั้งรายดังกล่าวเป็นประธานกรรมการ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด9

คณะกรรมการอาจแต่งตั้งกรรมการโดยการเลือกตั้งคนหนึ่งคนใดเพื่อดำรงตำแหน่งอื่นใดนอกเหนือจากตำแหน่งที่กำหนดไว้ตามวรรคสองได้ตามที่เห็นสมควร

 

ข้อ  13 3         ให้กรรมการโดยตำแหน่ง มีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระการดำรงตำแหน่งนายกสมาคม  หรือวาระการดำรงตำแหน่งของผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ หรือตำแหน่งเช่นว่านั้นที่เรียกชื่ออย่างอื่น ตามที่ระบุไว้ในข้อ 12 แล้วแต่กรณี

ให้กรรมการโดยการเลือกตั้ง  มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี

ให้ประธานกรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี และสามารถดำรงตำแหน่งต่อเนื่องได้
แต่จะต่อวาระเกิน 2 วาระติดต่อกันไม่ได้

 

ข้อ  14 3         ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการโดยตำแหน่งว่างลง ให้ผู้ทำการแทนหรือผู้รักษาการแทนในสมาคมของสมาชิกก่อตั้งนั้น หรือของตลาดหลักทรัพย์ เข้าปฏิบัติหน้าที่กรรมการไปพลางก่อนจนกว่านายกสมาคม ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ หรือบุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งเช่นว่านั้นที่เรียกชื่ออย่างอื่นจะเข้าดำรงตำแหน่ง

ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการโดยการเลือกตั้งว่างลง ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ให้สมาชิกสามัญรายนั้นแต่งตั้งบุคคลซึ่งคัดเลือกมาจากผู้ที่เป็นกรรมการสมาคมของตนเพื่อเข้าดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการแทนที่ โดยเร็ว8โดยให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน ทั้งนี้  ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการโดยการเลือกตั้งขึ้นใหม่ ให้กรรมการที่เหลืออยู่ในคณะกรรมการยังสามารถดำเนินงานต่อไปได้8

 

ข้อ  15 3         ในกรณีที่ประธานกรรมการว่างลง ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม  ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการโดยตำแหน่งคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ 7 โดยเร็ว โดยให้ประธานกรรมการที่ได้รับเลือกใหม่มีวาระการดำรงตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในข้อ 13 และในระหว่างที่ยังมิได้มีการเลือกประธานกรรมการขึ้นใหม่ ให้ประธานกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งและยังสามารถปฏิบัติงานต่อไปได้ คงอยู่รักษาการในตำแหน่งประธานกรรมการไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการเลือกประธานกรรมการใหม่เข้ารับหน้าที่

ทั้งนี้ ในกรณีมีเหตุที่ทำให้ประธานกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติงานต่อไปได้ ให้รองประธานกรรมการตามที่คณะกรรมการแต่งตั้งรักษาการตำแหน่งประธานกรรมการไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการเลือกประธานกรรมการใหม่เข้ารับหน้าที่ 8

 

ข้อ  16           นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตาม ข้อ 13  กรรมการ 3 อาจพ้นจากตำแหน่งในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้

  • ตาย
  • ลาออก
  • ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือล้มละลาย 3
  • ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
  • ขาดคุณสมบัติการเป็นกรรมการ 3 ตาม ข้อ 12

 

ข้อ  17           คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่วางนโยบายและดำเนินกิจการของสภาธุรกิจตลาดทุนไทยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาธุรกิจตลาดทุนไทยตามข้อ 4 รวมทั้งให้มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ 3

(1)   บริหารกิจการของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3 ให้เป็นไปตามธรรมนูญ วัตถุประสงค์ นโยบาย  แผนงาน แนวทางการดำเนินงานของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3 และมติของที่ประชุมคณะกรรมการ 3

(2)  แต่งตั้งอนุกรรมการ 3 ที่ปรึกษา 3 คณะทำงาน 3 หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เพื่อดำเนินกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3 ตามที่คณะกรรมการ 3 จะแต่งตั้ง

ให้คณะอนุกรรมการ ที่ปรึกษา คณะทำงาน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี  และอาจได้รับการแต่งตั้งใหม่อีกก็ได้ 3

(3)   กำหนดธรรมนูญ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ  คำสั่ง และจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับกิจการของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3 หรือที่ให้สมาชิก 3 หรือผู้เกี่ยวข้องถือปฏิบัติ  รวมทั้งพิจารณาลงโทษสมาชิก 3 หรือผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามธรรมนูญ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หรือจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับกิจการของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3

 

หมวดที่ 4

การจัดการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3

 

ข้อ  18           ให้ประธานกรรมการ 3 เป็นผู้มีอำนาจโดยทั่วไป  รวมตลอดถึงมีหน้าที่ดูแลและบริหารกิจการของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3 ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3 ตามข้อ 4  ตลอดจนเป็นผู้แทนของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3 ในกิจการที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกในการเข้าร่วมประชุมหรือใช้สิทธิใดๆ การเรียกร้องหรือปกป้องสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตลาดทุนไทย รวมถึงให้มีอำนาจแต่งตั้งหรือมอบหมายให้บุคคลใดๆ กระทำการแทนตนก็ได้

 

ข้อ  19            การบริหารจัดการทางการเงินของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3  ให้เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการ 3 กำหนด

 

ข้อ  20          ให้เลขานุการ1, 3 มีหน้าที่ในการจัดหางบประมาณที่เหมาะสม และอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการดำเนินงานของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3

 

ข้อ  21 3         การลงมติของกรรมการตามข้อ 6.2 และข้อ 11(4) ให้ส่งถึงประธานกรรมการ โดยผ่านเลขานุการ

 

หมวดที่ 5

การประชุมคณะกรรมการ 3  

 

ข้อ  22           ให้มีการจัดประชุมคณะกรรมการ 3 ตามที่ประธานกรรมการ 3 เห็นสมควร แต่อย่างน้อยจะต้องมีการประชุม 3 เดือนต่อครั้ง

 

ข้อ  23           ให้ประธานกรรมการ 3 จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการ ประจำปี 3 ภายใน 4 เดือน
นับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน โดยกิจการที่พึงกระทำในที่ประชุมคณะกรรมการประจำปี 3  ได้แก่

(1)   รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการประจำปี 3 ในรอบปีที่ผ่านมา

(2)   รายงานผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา

(3)   พิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน และแนวทางการดำเนินงานของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3 ในปีถัดไป

(4)   พิจารณาเรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)

 

ข้อ  24           การบอกกล่าวนัดประชุมคณะกรรมการ 3 ให้เลขานุการ 1, 3 แจ้งไปยังคณะกรรมการ 3 ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุม พร้อมกับแจ้งให้ทราบว่าเรียกประชุมเพื่อการใด

 

ข้อ  25           ในการประชุมคณะกรรมการ 3 จะต้องมีกรรมการ 3 เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง 3 ของจำนวนกรรมการ 3 ทั้งหมด จึงจะครบเป็นองค์ประชุม

ในการประชุมคณะกรรมการ 3 ให้ประธานกรรมการ 3 เป็นประธานในที่ประชุม  ถ้าประธานกรรมการ 3 ไม่สามารถเข้าประชุม ให้รองประธานกรรมการ 3 ทำหน้าที่แทนตามลำดับ  ในกรณีที่ทั้งประธานกรรมการ 3 และรองประธานกรรมการ 3 ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ ให้เลือกกรรมการ 3 คนใดคนหนึ่งทำหน้าที่แทน

ในการประชุมคณะกรรมการ 3 ให้เลขานุการ1, 3 หรือกรรมการคนใดคนหนึ่ง 3 ที่เลขานุการ 1, 3 มอบหมายทำหน้าที่เลขานุการของที่ประชุม  ในกรณีที่เลขานุการ1, 3 มิได้มอบหมายให้กรรมการคนใด 3 ทำหน้าที่แทน หรือในกรณีที่ประธานในที่ประชุมเห็นสมควร  ให้ประธานในที่ประชุมมีสิทธิมอบหมายให้กรรมการคนใด 3 ทำหน้าที่เป็นเลขานุการในที่ประชุมแทนได้

 

ข้อ  26           เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การวินิจฉัยชี้ขาดใดๆ ในการประชุมคณะกรรมการ 3  ให้ถือเอาเสียงข้างมากของกรรมการ 3  ที่เข้าประชุมและมีสิทธิออกเสียง โดยกรรมการ 3 คนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน  ไม่ว่าจะเป็นการลงคะแนนโดยวิธีลับหรือวิธีเปิดเผย  ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุม 3 ออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่ง เป็นเสียงชี้ขาด

ในกรณีที่จะมีมติในเรื่องใด ถ้าส่วนได้เสียของสมาชิก 3 และ/หรือกรรมการ 3 ขัดกับประโยชน์ได้เสียของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3 สมาชิกและ/หรือกรรมการผู้นั้น 3 จะออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้นไม่ได้

ในกรณีที่กรรมการไม่สามารถดำเนินกิจกรรมใดๆ ของกรรมการในที่ประชุมได้ อาจมอบหมายให้บุคคลอื่นที่เป็นผู้แทนของสมาชิกรายนั้น ดำเนินการแทนได้

โดยให้นับผู้ได้รับมอบหมายดังกล่าวเป็นองค์ประชุม และให้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุม แทนกรรมการที่มอบหมายสำหรับการประชุมคราวนั้น5

 

หมวดที่ 6

การแก้ไขธรรมนูญ

 

ข้อ  27           การแก้ไขเพิ่มเติมธรรมนูญของสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3 จะกระทำได้โดยมติที่ประชุมคณะกรรมการ 3 ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการ 3 ที่เข้าร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง

 

หมวดที่ 7

การเลิกสภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3

 

ข้อ  28           ให้สภาธุรกิจตลาดทุนไทย 3 เลิกกันเมื่อสมาชิก 3 ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิก 3 ทั้งหมดมีมติให้เลิก

 

ประกาศ ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2547

 

หมายเหตุ

1 ธรรมนูญสภาธุรกิจตลาดทุนไทย พ.ศ. 2547 (ฉบับที่ 2) ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2547

2 ธรรมนูญสภาธุรกิจตลาดทุนไทย พ.ศ. 2547 (ฉบับที่ 3) ประกาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2551

3 ธรรมนูญสภาธุรกิจตลาดทุนไทย พ.ศ. 2547 (ฉบับที่ 4) ประกาศ ณ วันที่ 14 มิถุนายน 2555

4 ธรรมนูญสภาธุรกิจตลาดทุนไทย พ.ศ. 2547 (ฉบับที่ 5) ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2555

5ธรรมนูญสภาธุรกิจตลาดทุนไทย พ.ศ. 2547 (ฉบับที่ 6) ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2557

6ธรรมนูญสภาธุรกิจตลาดทุนไทย พ.ศ. 2547 (ฉบับที่ 7) ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2560

7ธรรมนูญสภาธุรกิจตลาดทุนไทย พ.ศ. 2547 (ฉบับที่ 8) ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม 2561

8ธรรมนูญสภาธุรกิจตลาดทุนไทย พ.ศ. 2547 (ฉบับที่ 9) ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2561

9ธรรมนูญสภาธุรกิจตลาดทุนไทย พ.ศ. 2547 (ฉบับที่ 10) ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤษภาคม 2565